เครื่องสำอาง
หมายถึง วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทำด้วยวิธีอื่นใดต่อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความสวยงามและรวมตลอดทั้งเครื่องประทินผิวต่าง ๆ แต่ไม่รวมถึงเครื่องประดับและเครื่องแต่งตัว
ซึ่งเป็นอุปกรณ์ภายนอกร่างกาย พูดง่าย ๆ เครื่องสำอางก็คือ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับร่างกายมนุษย์ เพื่อความสะอาด และความสวยงาม เท่านั้น หากมีการกล่าวอ้างสรรพคุณเกินกว่านี้ เช่น อ้างว่าสามารถบำบัด บรรเทา รักษาโรค ป้องกันโรค หรือมีผลต่อโครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ต่าง ๆ ของร่างกายอันเป็นสรรพคุณทางยา ผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องจัดเป็นยาไม่ใช่เครื่องสำอาง
ตัวอย่างเช่น โลชั่นปลูกผม ครีมเสริมสร้างทรวงอก ครีมลดไขมัน สบู่ลดความอ้วน โลชั่นกระชับจุดซ่อนเร้น ครีมฆ่าเชื้อโรค ลดอาการผิวหนังอักเสบ แก้คัน ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ มีการแสดงสรรพคุณทางยา ต้องขึ้นทะเบียนเป็นยา
เครื่องสำอางที่ขายในท้องตลาดทุดชนิด ไม่ว่าจะเป็นสบู่ แชมพู ยาสีฟัน โลชั่นบำรุงผิว น้ำหอม ลิปสติก เครื่องสำอางทาแก้ แต่งตา ทาเล็บ ย้อมผม เป็นต้น จัดเป็นเครื่องสำอางควบคุม ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจต้องมาจดแจ้งต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก่อนผลิตหรือนำเข้า เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าสามารถใช้เครื่องสำอางอางทุกชนิดได้อย่างปลอดภัย
แม้ว่าการเลือกซื้อ เลือกใช้เครื่องสำอางจะเป็นเพียงเพื่อความสะอาดและความสวยงามเท่านั้น แต่ก็ควรคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย ดังนั้นก่อนเลือกซื้อควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้นให้ดีเสียก่อน
การเลือกซื้อเครื่องสำอาง
-
- ซื้อเครื่องสำอางจากร้านค้าที่มีหลักแหล่งแน่นอน เชื่อถือได้ เพราะหากเกิดปัญหาสามารถติดต่อผู้รับผิดชอบได้
ซื้อเครื่องสำอางที่มีฉลากภาษาไทยที่มองเห็นและอ่านชัดเจน โดยอย่างน้อยต้องระบุข้อความอันจำเป็น ดังนี้ - เลขที่ใบรับแจ้ง เป็นเลข 10 หลัก
- ชื่อเครื่องสำอางและชื่อทางการค้าของเครื่องสำอาง ซึ่งต้องมีขนาดใหญ่กว่าข้อความอื่น
ประเภทหรือชนิดของเครื่องสำอาง - ชื่อของสารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง เรียงตามลำดับตามปริมาณของสารจากมากไปหาน้อย
- ซื้อเครื่องสำอางจากร้านค้าที่มีหลักแหล่งแน่นอน เชื่อถือได้ เพราะหากเกิดปัญหาสามารถติดต่อผู้รับผิดชอบได้
วิธีใช้เครื่องสำอาง
- ชื่อ และที่อยู่ของผู้ผลิต กรณีเป็นเครื่องสำอางที่ผลิตในประเทศ/ชื่อและที่ต้องของผู้นำเข้า และชื่อผู้ผลิต ประเทศที่ผลิต กรณีเป็นเครื่องสำอางนำเข้า
ปริมาณสุทธิ
เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต
เดือน ปี ที่ผลิต หรือ ปี เดือนที่ผลิต
เดือน ปีที่หมดอายุ หรือปี เดือนที่หมดอายุ ในกรณีที่เป็นเครื่องสำอางที่มีอายุการใช้งานน้อยกว่า 30 เดือน เช่น เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของ Hydrogen peroxide - ถ้าฉลากมีพื้นที่น้อยกว่า 20 ตารางเซนติเมตร ให้แสดงเฉพาะชื่อเครื่องสำอางและชื่อทางการค้าของเครื่องสำอาง และเลขที่แสดงครั้งที่ผลิต ส่วนรายละเอียดอื่นให้แสดงในเอกสารกำกับเครื่องสำอาง
- ซื้อเครื่องสำอางที่มีภาชนะบรรจุหีบห่อในสภาพดี ไม่แตกรั่วและมีการเก็บรักษาอย่างดี ไม่อยู่ในที่ร้อน ชื้นหรือโดนแสงแดด
อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง
ที่มา : คู่มือ อย.น้อย ปีงบประมาณ พ.ศ.2558 กลุ่มพัฒนาเครือข่าย กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา www.oryornoi.com